วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

[Review] Tablet PC เพื่อการศึกษาไทย [ตอนที่ 3]

         สวัสดีครับทุกท่าน ครั้งที่แล้วเราก็พูดกันถึงฟังก์ชันออปชันต่างๆ ใน Tablet PC ตัวนี้ครับ ครั้งนี้เรามาพูดถึงแอปพลิเคชันทางด้านการศึกษากันนะครับว่า จะมีประโยชน์ต่อนักเรียนมากแค่ไหน เหมาะสมกับวัยหรือไม่ จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปอ่านกันดีกว่า

Screenshot_2012-09-15-16-24-33
ภาพนี้เป็น welcome screen ของแอปพลิเคชัน Learning System

Screenshot_2012-09-15-16-24-44

เข้ามาก็เจอกับเมนูให้เลือกใช้ มีทั้งหมด 4 เมนู ประกอบไปด้วย

  1. บทเรียน เป็นเมนูที่รวมบทเรียนของวิชาต่างๆ เอาไว้ให้ครบ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเนื้อหา
  2. มัลติมีเดีย เป็นเมนูที่มีสื่อมีเดียให้นักเรียนได้ใช้กัน
  3. หนังสือ รวบรวมเอาหนังสือวิชาต่างๆ ไว้ข้างใน แตกต่างจากบทเรียนตรงที่ หนังสือถูกรวมเอาไว้อย่างหลากหลาย 
  4. แอพพลิเคชัน เป็นส่วนของการเพิ่มข้อมูลและปรับปรุ่งเนื้อหา ซึ่งยังไม่เปิดให้ใช้งาน

Screenshot_2012-09-15-16-24-54

ในส่วนนี้จากที่เราเข้ามาในบทเรียน ก็เจอกับเมนูด้านในอีก 2 เมนู นั่นก็คือ

  1. บทเรียนออฟไลน์ เป็นบทเรียนที่รวบรวมเนื้อหาไว้ภายใน แยกตามรายวิชาต่างๆ
  2. บทเรียนออนไลน์ จะสามารถลิ้งค์เข้าไปยังเว็บ  มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

Screenshot_2012-09-15-16-25-02
Screenshot_2012-09-15-16-25-19
Screenshot_2012-09-15-16-25-31

หลังจากที่เลือกบทเรียนออฟไลน์แล้วเราก็เข้ามายังตัวเลือกแต่ละวิชา โดยจากภาพเราได้เลือกวิชาภาษาไทย ภาพที่ปรากฏคือบทเรียนที่เป็นในรูปสื่อการสอน

Screenshot_2012-09-15-16-26-17

นี่ก็เป็นแบบบทเรียนที่ใช้ให้นักเรียนศึกษาจาก Tablet PC

Screenshot_2012-09-15-16-28-47

จากภาพคือ เว็บที่ใช้ศึกษาบทเรียนออนไลน์ได้จากที่นี่ครับ


Screenshot_2012-09-15-16-34-43

ในส่วนนี้จะเป็นกรณีที่เลือกจาก เมนูมัลติมีเดียครับ จะเป็นเมนูสำหรับเข้าไปศึกษาสื่อมัลติมีเดีย

Screenshot_2012-09-15-16-34-54

ในส่วนนี้ก็จะเป็นเมนูในหลวงของเราครับ จะมีสื่อการเรียนในรูปแบบการ์ตูนให้นักเรียนได้ดูกัน  ซึ่งเป็นเรื่องราวสารคดีเฉลิมพระเกียรติในหลวงของเราครับ

Screenshot_2012-09-15-16-38-29

นี่ก็คือเมนูของฟังเพลงทั่วไปครับ จะเป็นเพลงสำคัญต่างๆ และเพลงตามวันประจำวันสำคัญ รวมถึงเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยครับ


Screenshot_2012-09-15-16-29-24

นี่คือ เมนูที่ปรากฏหลังจากเลือกเมนูหนังสือ ที่เห็นอยู่นี่จะรวมเอาหนังสือหลากหลายวิชามารวมที่นี่

Screenshot_2012-09-15-16-30-05

นี่ก็เป็นหน้าตาหลังจากที่เลือกหนังสือที่ต้องการจะศึกษาจากชั้นหนังสือ


Screenshot_2012-09-15-16-32-34


ภาพนี้คือการอ่านหนังสือของเราครับ  ยังสามารถโน๊ตลงไปและมาร์คลงบนเอกสารได้ครับ

Screenshot_2012-09-15-16-31-03

สามารถเลือกรูปแบบการอ่านได้ึครับ

Screenshot_2012-09-15-16-33-24

สามารถแชร์เข้าอีเมล์ได้

Screenshot_2012-09-15-16-39-39

ถ้าหากเราเลือกแอพพลิเคชันจากเมนูหลัก เราจะพบกับหน้านี้ปรากฏอยู่ครับ ซึ่งมี 2 เมนูด้วยกัน คือ

  1. ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย ในส่วนนี้ยังไม่สามารถใช้การได้ แต่จากการคาดการแล้วทางเราคาดว่าน่าจะเป็นเมนูที่เอาไว้ให้ดาวน์โหลดข้อมูลเนื้อหาใหม่ๆ ลงมายัง Tablet
  2. แบบฝึกหัดคลังข้อสอบ เป็นคลังข้อสอบวิชาต่างๆ ไว้ให้นักเรียนได้ลองทำข้อสอบดูพร้อมมีการตรวจคำตอบหลังทำข้อสอบเสร็จสิ้นหรือจะตรวจระหว่างทำแต่ละข้อก็ย่อมได้เช่นกันครับ

Screenshot_2012-09-15-16-39-55

เมื่อเข้ามาในเมนู จะพบว่ามีให้เลือกทำข้อสอบหลายวิชาเลยทีเดียวครับ

Screenshot_2012-09-15-16-40-20

เราก็มาลองสักข้อกันดีกว่า เราได้เลือกวิชาภาษาอังกฤษมาลองกัน คำถามตามระดับครับ เด็ก ป.1


ทุกท่านครับ  เป็นอย่างไรกันบ้างครับเราได้รีวิวครบไปทุกส่วนแล้ว หวังว่าทุกท่านจะได้รับข้อมูลไปไม่มากก็น้อย ทางเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะติดตามทางเรา Tegazine ไปเรื่อยๆ ผิดพลาดประการใดสามารถติชมได้ที่แฟนเพจของเรานะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเรา Tegazine ครับ

ติดตามเราได้ที่ : Tegazine และ Tegazine Issue



วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

[Review] Tablet PC เพื่อการศึกษาไทย [ตอนที่ 2]

สวัสดีครับทุกท่าน เป็นยังไงกันบ้างครับกับการรีวิวของเราในครั้งแรก ก็ว่ากันไปในเรื่องของรูปลักษณ์ภายนอกและสเปกในเบื้องต้นของ Tablet PC เพื่อการศึกษาไทย กันไปแล้ว ทุกท่านคงได้รับข้อมูลไปพอสมควร ครั้งนี้เรามาพูดถึงเรื่องความสามารถของระบบ ซึ่งระบบที่ใช้ก็เป็น Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) ก็จะคล้ายๆ กับอุปกรณ์อื่นที่ใช้ Ice Cream Sandwich เช่นกัน แต่เราจะมารีวิวกันให้เห็นอย่างละเอียดว่าเป็นหน้าตาอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านได้รับข้อมูลไปอย่างครบถ้วนที่สุด ถ้าอย่างนั้น อย่ารีรอเราไปพบกับรีวิวภาคต่อกันดีกว่ากับ [Review] Tablet PC เพื่อการศึกษาไทย [ตอนที่ 2]

DSC_0545

          หลังจากที่เราตะลึงตึงโป๊ะกับ welcome screen ของเจ้า Tablet PC เพื่อการศึกษาไทย กันไปแล้วนั้น เราก็มาดูกันต่อว่า ข้างในมีอะไรให้เราได้เล่นกันบ้าง ไปลุยกันเลย....


Screenshot_2012-09-15-16-17-27

เรามาดูกล้องหน้ากันดีกว่าครับ สำหรับกล้องหน้านั้น มีความละเอียดถึง 2 ล้านพิกเซลครับ การใช้งานนั้น ก็มีทั้งฟังก์ชันการซูม แล้วก็มีให้เลือกฟังก์ชันอื่นๆ ตามมาดูภาพต่อไปกันดีกว่าครับ


Screenshot_2012-09-15-16-19-36

ส่วนนี้ก็จะเป็นการปรับขนาดของภาพ ได้สูงสุดคือ 2 ล้านพิกเซลครับ

Screenshot_2012-09-15-16-19-43

นี่ก็เป็นเมนูในการปรับโทนสีของกล้อง ใช้ในการถ่ายภาพ


เรามาดูกันต่อดีกว่ากับโหมดวิดีโอกันเลยดีกว่าครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง
Screenshot_2012-09-15-16-20-14

ในส่วนนี้ก็จะเป็นเมนูการปรับโทนสีของกล้อง เหมือนๆ กันกับการถ่ายในโหมดถ่ายภาพปกติครับ

Screenshot_2012-09-15-16-20-05

จากภาพก็จะเห็นโหมดในการปรับการถ่ายวิดีโอในแบบช่วงระยะเวลาครับ เหมาะกับการนำไปทำโมชั่นกราฟฟิกได้ครับ


ทุกท่านครับหลังจากที่เราดูรีวิวเรื่องของกล้องไปแล้วว่าทำอะไรได้บ้าง เดี๋ยวเราจะมาดูต่อกันดีกว่าครับว่า ภายในระบบเป็นอย่างไรบ้างครับ

Screenshot_2012-09-15-16-16-38

เปิดเข้ามาเราก็มาเจอกับหน้าตาของเจ้า Tablet PC เพื่อการศึกษาไทย หน้าตาก็คล้ายๆ Tablet Android ทั่วไป ที่เด่นชัดเจนก็คือ ไอคอนขนาดใหญ่ของ Learning System เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการเรียนรู้  ซึ่งเดี๋ยวเราก็จะรีวิวให้ทุกท่านได้ชมได้อ่านกันครับ แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าจะมีอะไรแตกต่างจาก Tablet ตัวอื่นๆ หรือเปล่าในเมนู Options ครับ

Screenshot_2012-09-15-16-21-27

Screenshot_2012-09-15-16-21-44

Screenshot_2012-09-15-16-22-47

Screenshot_2012-09-15-16-22-17

Screenshot_2012-09-15-16-22-00

ในส่วนของรูปข้างต้นนั้น เป็นส่วนในการตั้งค่าต่างๆ ก็เป็นในทางที่คาดไว้ หน้าตาก็เหมือนกับ Tablet Android ทั่วไป เช่นกัน

Screenshot_2012-09-15-16-24-24

Screenshot_2012-09-15-16-23-54

นี่ก็เป็นหน้าตาของ UI ในการค้นหาทั้งแบบ text และ voice ซึ่งในแบบการค้นหาด้วยเสียงก็สามารถใช้งานได้ดีเลยทีเดียวครับ แต่ก็ตามความสามารถของผู้ใช้ด้วยในการออกเสียงภาษาอังกฤษ

Screenshot_2012-09-15-17-07-00

สำหรับ Tablet ตัวนี้ไม่มี App Google play ไม่สามารถลง App จาก market ได้  มีมาให้แค่ app ติดตั้ง Apk เท่านั้น ที่ใช้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันได้ และapp นี้ สามารถถอนการติดตั้งโปรแกรมได้ครับ

ทุกท่านครับ นี่ก็เป็นหน้าตาและการใช้งานภายในของระบบที่มาให้ใน Tablet PC เพื่อการศึกษาไทยครับ ท่านคงได้ข้อมูลที่ดีเลยทีเดียว และได้เห็นหน้าตาของตัวเครื่องไปแล้ว สำหรับตอนต่อไปเรามารีวิวเกี่ยวกับตัวแอปพลิเคชันการศึกษาที่มีมาให้กันครับ รอติดตามชมด้วยนะครับ


ติดตามเราได้ที่ : Tegazine และ Tegazine Issue


วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

Facebook ทดสอบระบบโฆษณาเพื่อแอพพลิเคชันอื่น


          ข่าวของ Facebook  ช่วงนี้มีความเคลื่อนไหวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมูลค่าในตลาดที่ลดลงกว่าครึ่งจึงทำให้ทาง Facebook  เองได้หาวิธีแก้ไขที่จะทำให้พวกเค้าได้กลับมาหายใจในตลาดได้อีกครั้ง โดยทาง Facebook inc.เริ่มหันมาลุยเรื่องโฆษณาบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างเต็มตัว เพราะตอนนี้ Facebook กำลังเตรียมทดสอบบริการวางโฆษณาที่ฝังไว้บนแอพพลิเคชันอื่นๆ แล้ว ด้วยความหวังว่าจะสามารถเพิ่มรายได้จากธุรกิจโฆษณาออนไลน์บนอุปกรณ์พกพาไร้สาย

         Facebook อธิบายไว้ในแถลงการณ์ของตัวเองว่าการแสดงโฆษณา mobile ads ในพื้นที่นอก Facebook นั้นไม่เพียงเป็นอีกหนทางที่จะทำให้ผู้ใช้ได้เห็นโฆษณาที่มีคุณภาพ แต่ยังทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาแอปพลิเคชันใหม่ๆ ด้วย โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทดสอบเท่านั้น ด้วยการวางโฆษณาไว้บนแอปพลิเคชันอื่น Facebook จะเปลี่ยนให้คู่แข่งทั้ง Google และ Apple สามารถผนึกกำลังเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า ad network กลยุทธ์นี้เองที่จะทำให้ Facebook สามารถรับส่วนแบ่งรายได้จากธุรกิจโมบายล์มาร์เก็ตติ้งได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถรับประโยชน์จากความต้องการของนักการตลาดได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

         เบื้องต้น สำนักวิจัย eMarketer เชื่อว่า Facebook สามารถครองส่วนแบ่งราว 2.8% จากเม็ดเงินโฆษณาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในอเมริกาที่คาดว่าจะมีมูลค่าเกิน 2.61 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้        โดยส่วนแบ่งนี้จะทำให้ Facebook ครองอันดับที่ 6 รองจาก Google ซึ่งคาดว่าจะสามารถโกยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 55% การสำรวจของ eMarketer เชื่อว่า Pandora Media จะครองส่วนแบ่งตลาด mobile ads เป็นอันดับ 2 ราว 8.7% โดย Twitter ถูกมองว่าจะครองอันดับ 3 ด้วยส่วนแบ่งที่ 5% หลังข่าวนี้ถูกเผยแพร่ มูลค่าหุ้น Facebook เพิ่มขึ้น 1.6% แตะที่ 21.87 เหรียญที่ตลาดหุ้นนิวยอร์ก แม้จะสถานการณ์ดีขึ้นแต่ก็ยังถือว่าลดลงกว่าราคา IPO ราว 42%

         ทางด้าน Facebook เองซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ที่ได้ก็จะได้จากการโฆษณา  บริษัท ประกาศผลใน​​เดือนที่แล้วว่าจะปล่อยให้นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เป้าหมายผู้ใช้ Facebook บนโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : thumbsup.in.th , Bloomberg Businessweek


วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

บริษัทไอทีชื่อดังร่วมเสนอเงินเพื่อหาวิศวกรในเว็บหางานน้องใหม่รวม 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


          ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ที่เว็บไซต์ DeveloperAuction.com เริ่มเปิดทำการในฐานะตลาดรับสมัครพนักงานที่ขั้นตอนโปร่งใสแห่งแรกของโลก หรือ “first transparent marketplace for recruitment” ล่าสุดพบว่าบริษัทไอทีน้องใหม่ในวงการอินเทอร์เน็ตพร้อมใจเทเงินประมูลวิศวกรหัวกะทิคิดเป็นเม็ดเงินรวมมูลค่าหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐฯ

          
         ความสำเร็จของ DeveloperAuction.com นี้แสดงให้เห็นว่าบริษัทไอทีเกิดใหม่ล้วนต้องการทีมงานที่มีศักยภาพ โดย DeveloperAuction นั้นเพิ่งดำเนินการประมูลครั้งแรกและปิดประมูลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางวิศวกรกว่า 88 คนที่พาตัวเองเข้าร่วมการประมูครั้งนี้ โดยมีบริษัท startup ไอทีกว่า 142 แห่งร่วมเสนอราคา หนึ่งในนั้นมี Quora  (เว็บไซต์ระบบถามตอบ) และ Dropbox (เว็บไซท์บริการพื้นที่ Cloud) ที่เสนอราคารวมกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          Matt Mickiewicz ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ประมูลหัวกะทิไอทีนี้ระบุว่า เขาต้องการช่วยให้นักพัฒนาได้รับเงินค่าจ้างสมน้ำสมเนื้อผ่านกระบวนการแข่งขัน ซึ่งที่ผ่านมา มีวิศวกรจำนวนมากถูก “กว้านจ้าง” ไปโดยทีมงานฝ่ายบุคคลของหลายบริษัทบ่อยครั้ง ซึ่งวิธีการนี้ทำให้นักพัฒนาหัวกะทิเสียโอกาสในการเลือกงานเลือกบริษัท ดังนั้นจึงเกิด DeveloperAuction ขึ้น โดยเปลี่ยนวิธีการจ้างงานวิศวกรหัวกะทิที่เคยเป็นมา ด้วยการเปิดให้บริษัทส่งข้อเสนอก่อน เมื่อตกลงทั้ง 2 ฝ่ายจึงค่อยดำเนินการสัมภาษณ์ต่อไป
การประมูลบน DeveloperAuction แต่ละครั้งจะมีระยะเวลา 2 สัปดาห์ สำหรับการประมูลครั้งต่อไปมีกำหนดจัดขึ้นช่วงกลางเดือนกันยายน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายเดือน

ทั้งหมดนี้ถือเป็นทิศทางใหม่แห่งการจ้างงานบนโลกดิจิตอลที่น่าสนใจมาก และน่าจะเป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นของโลกก็ได้
ที่มา : Techcrunch , thumbsup.in.th